"คิดไปเองว่า F16 ของไทย น่าจะเป็นเครื่องบินสามัญธรรมดาที่ตกรุ่น พอไปอ่านข้อมูลมา ที่ไหนได้มันคือ F16แต่งซิ่ง "
ฮะๆ เป็นเรื่องจริงครับ ที่ว่า ถึงแม้เครื่อง F-16 ของไทยเราจะเก่ามากแล้ว และกำลังรอการจัดซื้อเครื่อง Gripen Jas-39 มาประจำการทดแทน แต่ก็ผ่านการปรับปรุงหลายส่วนมาก จนมีสมรรถภาพไม่ด้อยไปกว่าเครื่องรุ่นใหม่นัก โดยเน้นไปที่ระบบการบินและระบบอาวุธ (ไม่ใช่แต่งเครื่องให้แรงซิ่งขึ้น ฮะๆ)
และวันนี้ เห็นทางเพจ thaiarmedforce.com เขียนบทความอธิบายถึง "การแต่งซิ่ง" เครื่อง F-16 ที่ผ่านมา เลยขอเอามาสรุปให้อ่านกันนะครับ
1. ปัจจุบัน ไทยมีเครื่อง F-16 อยู่ประมาณ 60 ลำ ประจำการใน 2 ฝูงบิน คือฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี และฝูงบิน 103 กองบิน 1 โคราช (ส่วน ฝูง 102 กองบิน 1 ปลดประจำการไปแล้ว)
2. ฝูงบิน 103 มีทั้งเป็น F-16 A/B รุ่น Block 15OCU ที่เก่าแล้ว มีการปรับปรุงยืดอายุโครงสร้าง แต่ไม่ได้ปรับปรุงระบบ Avionic อิเล็กทรอนิกส์การบิน
- และมีที่เป็น F-16 A/B รุ่น ADF (Air Defense Fighter) ซึ่งเป็นเครื่องบินมือสองจากสหรัฐอเมริกา ปรับปรุงมาจาก 15OCU ให้ใช้ AIM-120 AMRAAM ได้ แต่มีข้อจำกัดคือไม่มีกระเปาะชี้เป้า
- F-16 ฝูงนี้ กำลังจะปลดประจำการ เปลี่ยนมาใช้งาน Gripen E/F ที่กำลังจัดหาใหม่จำนวน 12 ลำ
3. ฝูงบิน 403 เป็น F-16A/B รุ่น Block 15OCU แต่อายุการใช้งานยังเหลือพอสมควร มีการปรับปรุงช่วงครึ่งอายุ ภายใต้แผนแบบ eMLU (enhance Mid-Life Upgrade) ตั้งแต่ปี 2554 เสร็จสิ้นในปี 2560
- การปรับปรุงคือ
+ ติดตั้งเรดาร์ APG-68(V)9 แทนเรดาร์เดิม ขีดความสามารถสูงขึ้น
+ ติดตั้งระบบพิสูจน์ฝ่าย APX-113 Combined Interrogator and Transponder รองรับการพิสูจน์ฝ่าย ในการใช้งานจรวด ระยะเกินสายตา
+ ติดตั้งระบบ ALQ-213 Electronic Warfare Management System สำหรับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ทดแทนของเดิม
+ ติดตั้งระบบ ALE-47 Countermeasures Dispenser System สำหรับปล่อยเป้าลวงจรวด
และมีการจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น กระเปาะชี้เป้า Sniper ATP , หมวกบินติดศูนย์เล็ง JHMCS HMD , จรวดอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T , ระบบ Datalink แบบ Link-16
- แม้เครื่องยนต์จะตัวเดิม แต่เมื่อปรับปรุงแล้ว มีขีดความสามารถใกล้เคียงกับ F-16 C/B Block 50 (รุ่นสุดท้ายของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ) แต่ยังต่ำกว่า F-16 C/D ของสิงคโปร์
4. จะเห็นว่าผลของ "การแต่งซิ่ง" เหล่านี้ น่าจะทำให้ปฏิบัติการทางอากาศ ระหว่างการปะทะกันกับกัมพูชานั้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในการช่วยกัน "ชี้เป้า" สำหรับการทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ และมีระบบที่ทำให้ปฏิบัติการร่วมกับทหารบกได้ ช่วยเสริมการขัดขวางปฏิบัติการของข้าศึกในพื้นที่รบ จากทางอากาศ
ป.ล. ข้อมูลการปรับปรุงเครื่อง F-16 พวกนี้ไม่ใช่ความลับอะไรนะครับ มีเผยแพร่ทำไป และละเอียดกว่านี้ด้วย
ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/photo?fbid=1281532613436268&set=a.189090046013869
ภาพประกอบจาก เพจ กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force
ฮะๆ เป็นเรื่องจริงครับ ที่ว่า ถึงแม้เครื่อง F-16 ของไทยเราจะเก่ามากแล้ว และกำลังรอการจัดซื้อเครื่อง Gripen Jas-39 มาประจำการทดแทน แต่ก็ผ่านการปรับปรุงหลายส่วนมาก จนมีสมรรถภาพไม่ด้อยไปกว่าเครื่องรุ่นใหม่นัก โดยเน้นไปที่ระบบการบินและระบบอาวุธ (ไม่ใช่แต่งเครื่องให้แรงซิ่งขึ้น ฮะๆ)
และวันนี้ เห็นทางเพจ thaiarmedforce.com เขียนบทความอธิบายถึง "การแต่งซิ่ง" เครื่อง F-16 ที่ผ่านมา เลยขอเอามาสรุปให้อ่านกันนะครับ
1. ปัจจุบัน ไทยมีเครื่อง F-16 อยู่ประมาณ 60 ลำ ประจำการใน 2 ฝูงบิน คือฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี และฝูงบิน 103 กองบิน 1 โคราช (ส่วน ฝูง 102 กองบิน 1 ปลดประจำการไปแล้ว)
2. ฝูงบิน 103 มีทั้งเป็น F-16 A/B รุ่น Block 15OCU ที่เก่าแล้ว มีการปรับปรุงยืดอายุโครงสร้าง แต่ไม่ได้ปรับปรุงระบบ Avionic อิเล็กทรอนิกส์การบิน
- และมีที่เป็น F-16 A/B รุ่น ADF (Air Defense Fighter) ซึ่งเป็นเครื่องบินมือสองจากสหรัฐอเมริกา ปรับปรุงมาจาก 15OCU ให้ใช้ AIM-120 AMRAAM ได้ แต่มีข้อจำกัดคือไม่มีกระเปาะชี้เป้า
- F-16 ฝูงนี้ กำลังจะปลดประจำการ เปลี่ยนมาใช้งาน Gripen E/F ที่กำลังจัดหาใหม่จำนวน 12 ลำ
3. ฝูงบิน 403 เป็น F-16A/B รุ่น Block 15OCU แต่อายุการใช้งานยังเหลือพอสมควร มีการปรับปรุงช่วงครึ่งอายุ ภายใต้แผนแบบ eMLU (enhance Mid-Life Upgrade) ตั้งแต่ปี 2554 เสร็จสิ้นในปี 2560
- การปรับปรุงคือ
+ ติดตั้งเรดาร์ APG-68(V)9 แทนเรดาร์เดิม ขีดความสามารถสูงขึ้น
+ ติดตั้งระบบพิสูจน์ฝ่าย APX-113 Combined Interrogator and Transponder รองรับการพิสูจน์ฝ่าย ในการใช้งานจรวด ระยะเกินสายตา
+ ติดตั้งระบบ ALQ-213 Electronic Warfare Management System สำหรับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ทดแทนของเดิม
+ ติดตั้งระบบ ALE-47 Countermeasures Dispenser System สำหรับปล่อยเป้าลวงจรวด
และมีการจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น กระเปาะชี้เป้า Sniper ATP , หมวกบินติดศูนย์เล็ง JHMCS HMD , จรวดอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T , ระบบ Datalink แบบ Link-16
- แม้เครื่องยนต์จะตัวเดิม แต่เมื่อปรับปรุงแล้ว มีขีดความสามารถใกล้เคียงกับ F-16 C/B Block 50 (รุ่นสุดท้ายของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ) แต่ยังต่ำกว่า F-16 C/D ของสิงคโปร์
4. จะเห็นว่าผลของ "การแต่งซิ่ง" เหล่านี้ น่าจะทำให้ปฏิบัติการทางอากาศ ระหว่างการปะทะกันกับกัมพูชานั้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในการช่วยกัน "ชี้เป้า" สำหรับการทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ และมีระบบที่ทำให้ปฏิบัติการร่วมกับทหารบกได้ ช่วยเสริมการขัดขวางปฏิบัติการของข้าศึกในพื้นที่รบ จากทางอากาศ
ป.ล. ข้อมูลการปรับปรุงเครื่อง F-16 พวกนี้ไม่ใช่ความลับอะไรนะครับ มีเผยแพร่ทำไป และละเอียดกว่านี้ด้วย
ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/photo?fbid=1281532613436268&set=a.189090046013869
ภาพประกอบจาก เพจ กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force
"คิดไปเองว่า F16 ของไทย น่าจะเป็นเครื่องบินสามัญธรรมดาที่ตกรุ่น พอไปอ่านข้อมูลมา ที่ไหนได้มันคือ F16แต่งซิ่ง 😱"
ฮะๆ เป็นเรื่องจริงครับ ที่ว่า ถึงแม้เครื่อง F-16 ของไทยเราจะเก่ามากแล้ว และกำลังรอการจัดซื้อเครื่อง Gripen Jas-39 มาประจำการทดแทน แต่ก็ผ่านการปรับปรุงหลายส่วนมาก จนมีสมรรถภาพไม่ด้อยไปกว่าเครื่องรุ่นใหม่นัก โดยเน้นไปที่ระบบการบินและระบบอาวุธ (ไม่ใช่แต่งเครื่องให้แรงซิ่งขึ้น ฮะๆ)
และวันนี้ เห็นทางเพจ thaiarmedforce.com เขียนบทความอธิบายถึง "การแต่งซิ่ง" เครื่อง F-16 ที่ผ่านมา เลยขอเอามาสรุปให้อ่านกันนะครับ
1. ปัจจุบัน ไทยมีเครื่อง F-16 อยู่ประมาณ 60 ลำ ประจำการใน 2 ฝูงบิน คือฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี และฝูงบิน 103 กองบิน 1 โคราช (ส่วน ฝูง 102 กองบิน 1 ปลดประจำการไปแล้ว)
2. ฝูงบิน 103 มีทั้งเป็น F-16 A/B รุ่น Block 15OCU ที่เก่าแล้ว มีการปรับปรุงยืดอายุโครงสร้าง แต่ไม่ได้ปรับปรุงระบบ Avionic อิเล็กทรอนิกส์การบิน
- และมีที่เป็น F-16 A/B รุ่น ADF (Air Defense Fighter) ซึ่งเป็นเครื่องบินมือสองจากสหรัฐอเมริกา ปรับปรุงมาจาก 15OCU ให้ใช้ AIM-120 AMRAAM ได้ แต่มีข้อจำกัดคือไม่มีกระเปาะชี้เป้า
- F-16 ฝูงนี้ กำลังจะปลดประจำการ เปลี่ยนมาใช้งาน Gripen E/F ที่กำลังจัดหาใหม่จำนวน 12 ลำ
3. ฝูงบิน 403 เป็น F-16A/B รุ่น Block 15OCU แต่อายุการใช้งานยังเหลือพอสมควร มีการปรับปรุงช่วงครึ่งอายุ ภายใต้แผนแบบ eMLU (enhance Mid-Life Upgrade) ตั้งแต่ปี 2554 เสร็จสิ้นในปี 2560
- การปรับปรุงคือ
+ ติดตั้งเรดาร์ APG-68(V)9 แทนเรดาร์เดิม ขีดความสามารถสูงขึ้น
+ ติดตั้งระบบพิสูจน์ฝ่าย APX-113 Combined Interrogator and Transponder รองรับการพิสูจน์ฝ่าย ในการใช้งานจรวด ระยะเกินสายตา
+ ติดตั้งระบบ ALQ-213 Electronic Warfare Management System สำหรับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ทดแทนของเดิม
+ ติดตั้งระบบ ALE-47 Countermeasures Dispenser System สำหรับปล่อยเป้าลวงจรวด
และมีการจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น กระเปาะชี้เป้า Sniper ATP , หมวกบินติดศูนย์เล็ง JHMCS HMD , จรวดอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T , ระบบ Datalink แบบ Link-16
- แม้เครื่องยนต์จะตัวเดิม แต่เมื่อปรับปรุงแล้ว มีขีดความสามารถใกล้เคียงกับ F-16 C/B Block 50 (รุ่นสุดท้ายของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ) แต่ยังต่ำกว่า F-16 C/D ของสิงคโปร์
4. จะเห็นว่าผลของ "การแต่งซิ่ง" เหล่านี้ น่าจะทำให้ปฏิบัติการทางอากาศ ระหว่างการปะทะกันกับกัมพูชานั้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในการช่วยกัน "ชี้เป้า" สำหรับการทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ และมีระบบที่ทำให้ปฏิบัติการร่วมกับทหารบกได้ ช่วยเสริมการขัดขวางปฏิบัติการของข้าศึกในพื้นที่รบ จากทางอากาศ
ป.ล. ข้อมูลการปรับปรุงเครื่อง F-16 พวกนี้ไม่ใช่ความลับอะไรนะครับ มีเผยแพร่ทำไป และละเอียดกว่านี้ด้วย
ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/photo?fbid=1281532613436268&set=a.189090046013869
ภาพประกอบจาก เพจ กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force
0 Comments
0 Shares
7 Views
0 Reviews